Episodes

Wednesday Mar 09, 2022
EP 29 ดาวน์ซินโดรมรู้ก่อนเกิดตรวจยังไง
Wednesday Mar 09, 2022
Wednesday Mar 09, 2022
ทารกเกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรมเพราะแม่อายุมากจริงหรือไม่? เทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันช่วยให้ตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้ด้วยการตรวจพ่อแม่ตั้งแต่ก่อนลูกจะปฏิสนธิและในขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์ โดยมีข้อแม้ว่าต้องได้รับการตรวจในอายุครรภ์ที่เหมาะสม การฝากครรภ์ตั้งแต่แรกรู้ว่าตั้งท้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมมีวิธีไหนบ้าง ลูกต้องเสี่ยงไหม แม่เจ็บตัวหรือเปล่า วิธีที่เรียกว่า NIPT เป็นอย่างไรร่วมหาคำตอบจาก รศ.ดร. นพ. บุญศรี จันทร์รัชชกูล สูตินารีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลภาวะครรภ์เสี่ยงสูงและภาวะครรภ์เป็นพิษ
#ตรวจดาวน์ซินโดรม

Thursday Feb 24, 2022
EP 28 How to ขจัดกลิ่นตัวแรง
Thursday Feb 24, 2022
Thursday Feb 24, 2022
กลิ่นตัวเป็นปัญหาสุขภาพกายที่ส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองและสุขภาพจิตได้ กลิ่นตัวไม่ได้เกิดจากเหงื่อ แต่เกิดจากแบคทีเรียที่ทำปฏิกิริยากับเหงื่อ หรือเกิดจาก “ต่อมเหม็น” บริเวณรักแร้ หน้าอก และอวัยวะเพศที่พัฒนาขึ้นในช่วงวัยรุ่น นอกจากนั้นกลิ่นตัวยังเกิดได้จากสาเหตุอื่น เช่น เสื้อผ้าที่ระบายอากาศไม่ดี แผลอักเสบของผิวหนัง โรคภายในที่ส่งผลให้ลมหายใจมีกลิ่น รวมทั้งอาหารที่มีกลิ่นแรง หากคุณพบว่าตัวเองมีกลิ่นตัวที่ไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการอาบน้ำหรือใช้ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกาย ขาดความมั่นใจจนไม่อยากจะให้ใครเข้าใกล้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อประเมินและแก้ปัญหาที่สาเหตุ เพราะนอกจากการดูแลสุขอนามัยด้วยตัวเองแล้ว ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น เลเซอร์ และการฉีด botox มาใช้ในการขจัดกลิ่นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Wednesday Feb 09, 2022
EP 27 LGBTQ แค่แตกต่าง?
Wednesday Feb 09, 2022
Wednesday Feb 09, 2022
เมื่อ LGBTQ ไม่ใช่โรคแต่เป็นความชอบและลักษณะส่วนบุคคลที่มีความหลากหลายไม่แตกต่างกับรูปร่างหรือสีผิว What the Health เม้าท์สุขภาพกับหมอชวน นต. พญ. ณัฐยา รัชตะวรรณ สูตินารีแพทย์ แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ มาคุยถึงนิยามของ LGBTQ ความสำคัญของความเข้าใจและกำลังใจจากคนรอบข้าง รวมถึงการเปิดโอกาสทางสังคมเพื่อความเท่าเทียมกันของทุกเพศในสถาบันซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กแต่สำคัญที่สุดในสังคมที่เรียกว่า “ครอบครัว”

Wednesday Jan 26, 2022
EP26 รู้หรือไม่? การหลอกตัวเองมากเกินไปอาจเป็นโรคอย่างหนึ่ง
Wednesday Jan 26, 2022
Wednesday Jan 26, 2022
ในยุคที่เราขยัน “มโน” มีทริปทิพย์ สามีทิพย์ บ้านทิพย์ และอีกสารพัดตามใจปรารถนา จนไม่แน่ใจว่าการมโนเช่นนี้เป็นการหลอกตัวเองหรือไม่ หรือแบบไหนที่เกินพอดี EP นี้ หมอดิว นพ. ธนานันต์ นุ่มแสง จิตแพทย์แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ชวนคุยถึงดีกรีความแตกต่างระหว่างการมโน การโกหก และการหลอกตัวเอง แบบไหนทำได้ไม่ต้องกังวล แบบไหนเข้าข่ายกลุ่มอาการของโรคบุคลิกภาพผิดปกติหรือเกิดจากปมอดีตในใจ พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขที่เป็นจริงได้เพียงแค่ยอมเปิดใจเข้ามาคุยกับจิตแพทย์

Wednesday Jan 12, 2022
EP 25 ว้าวุ่นใจวัยฮอร์โมน (คุยอย่างไรกับวัยรุ่น)
Wednesday Jan 12, 2022
Wednesday Jan 12, 2022
เมื่อลูกเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ การสื่อสารต้องเปลี่ยนรูปแบบให้โดนใจลูก ด้วยการพูดเฉพาะใจความสำคัญที่พ่อแม่ต้องการบอก ไม่เยิ่นเย้อยืดยาว ไม่ตำหนิติเตียน ตัดสิน ใช้อารมณ์ หรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูก
เรื่องไหนควรถาม - เรื่องไหนไม่ควร - เรื่องเพศสอนยังไง พูดได้แค่ไหน EP นี้
พญ. ศิราดา จิตติวรรณ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แนะนำวิธีสอนวัยทีนให้ลูกฟัง และคงความสัมพันธ์ปัง ๆ ในครอบครัว

Wednesday Dec 22, 2021
EP 24 เปิดวาร์ปสายปาร์ตี้ สไตล์ Healthy ฉบับ 2022
Wednesday Dec 22, 2021
Wednesday Dec 22, 2021
ใกล้สิ้นปีเต็มที คุณพร้อมหรือยังกับปาร์ตี้คริสต์มาส-ปีใหม่ จะ drink drank drunk ให้ปังแบบ healthy ต้องสนุกอย่างมีสติ เลิกเข้าใจผิดว่าควรอดอาหารก่อนร่วมงาน เพราะอาหารจะช่วยรองท้องให้ไม่เมาง่าย ไม่หิวโหยจนหลุดเผลอรับประทานเกินลิมิตยามแอลกอฮอล์เข้าปาก วิตามินและเกลือแร่บางชนิด เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม สังกะสี มีรายงานว่าช่วยลดผลแย่ ๆ จากแอลกอฮอล์ต่อร่างกาย การดื่มคาเฟอีน ไม่ว่าจะกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลังก่อนไปปาร์ตี้อาจทำให้ดีดจนลืมมึน แล้วเผลอดื่มเกินร่างกายจะรับไหว ใครดื่มจนร่วง ตื่นมาแฮงค์ในวันรุ่งขึ้น ให้นอนพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ หรือดื่มน้ำหวาน น้ำผักผลไม้ที่มีน้ำตาล เพื่อชดเชยผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของแอลกอฮอล์

Wednesday Dec 08, 2021
EP 23 ปลุกไฟรักให้ทัน Countdown
Wednesday Dec 08, 2021
Wednesday Dec 08, 2021
ไฟรักจะยั่งยืนหรือพังครืนอยู่ที่ความเข้าใจ เรื่องบนเตียงเป็นเรื่องของคนสองคน
ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดก็สะกิดนำบอกความต้องการของคุณให้คู่ของคุณรับรู้ได้ ปรับลีลากันไป เปลี่ยนบรรยากาศกันบ้าง เพราะเมื่ออยู่เป็นคู่ยังไงเซ็กส์ก็เป็นเรื่องสำคัญ หมั่นเติมรสรักให้กันทั้งบนเตียงและดูแลกันในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าเมื่อใดใจพร้อมแต่กายไม่พร้อม อย่าลืมว่ายังมีแพทย์ที่พร้อมให้รับฟังและแก้ปัญหาให้ไฟบนเตียงของคุณกลับมาลุกโชนได้อีกครั้ง

Wednesday Nov 24, 2021
EP 22 ปากเหม็น อย่าทนดมให้ขมคอ
Wednesday Nov 24, 2021
Wednesday Nov 24, 2021
ใส่หน้ากากอนามัยกันทุกวันแบบนี้ ถอดออกมาลมหายใจยังหอมสดชื่นกันหรือเปล่า กลิ่นปากไม่ใช่เพียงต้นเหตุของบุคลิกภาพที่ไม่น่าปลื้ม แต่ยังบ่งถึงความเจ็บป่วยของร่างกายและปัญหาในช่องปากได้อีกด้วย การทดสอบกลิ่นปากทำได้อย่างแม่นยำด้วยตัวเองด้วยการป้องปากแล้วพ่นลมหายใจออกมาแรงๆ การใช้น้ำยาบ้วนปาก จริงอยู่ที่สเปรย์ หรือลูกอมดับกลิ่นสามารถช่วยลดกลิ่นปากได้บ้าง แต่หากมีปัญหาในช่องปากหรือสุขภาพภายในจริง ปัญหาเหล่านั้นควรได้รับการแก้ไขที่สาเหตุ ดังนั้นผู้มีสุขภาพดีทั่วไปควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากและขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อปากหอม ฟันแข็งแรง

Wednesday Nov 10, 2021
EP 21 ปวดหัวแบบไหน... ใช่ไมเกรน
Wednesday Nov 10, 2021
Wednesday Nov 10, 2021
ไมเกรนเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น เสียงดังเกินไป แสงจ้าเกินไป หรืออาหารบางชนิดมากระตุ้นให้เกิดความปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง
อาการปวดหัว ไม่จำเป็นต้องเป็นไมเกรนทุกครั้ง มีการปวดที่เรียกว่า tension headache เกิดได้ถึง 80%-90% ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่โดนแดดแรง เครียด นอนดึก เล่นโทรศัพท์เยอะ เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการหดตัวกล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก ทำให้สารในสมองผิดปกติ จริงๆ คนเราเกิด tension headache มากกว่าไมเกรนเสียอีกนะ
การสังเกตอาการไมเกรน เกิดจากปวดข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ร้าวไปที่กระบอกตา คลื่นใส้อาเจียน จนต้องหยุดทำกิจกรรม ปวดนานมากกว่า 4 ชั่วโมง หรือนานกว่า 2-3 วันเลยทีเดียว
คนไทยจะเกิดจากผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจริงหรือเปล่า ? แล้วคนที่เป็น office Syndrome จะปวดไมเกรนได้บ่อยกว่าจริงหรือไม่ ? คุณหมอยังแนะนำวิธีการรักษาตัว และการป้องกันจากโรคนี้ ไปฟังกันเลยค่ะ

Wednesday Oct 27, 2021
EP 20 โรคกินไม่หยุด
Wednesday Oct 27, 2021
Wednesday Oct 27, 2021
โรคกินไม่หยุดเกิดขึ้นได้ ลองสังเกตได้จะมีอาการ หยุดกินไม่ได้ กินตอนไม่หิว กินรู้สึกแย่หรือผิด กินแล้วไม่ Happy ทั้งหมดนี้จะเกิดในระยะเวลา 2 ชม. อาการจะต้องเกิดทุกอาทิตย์ ติดต่อเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้มาพบคุณหมอได้เลย
ถ้าระหว่างกินแล้วสำราญ แล้วรู้สึกผิดที่หลัง ยังไม่ถือเป็นโรคนะคะ
โรคนี้เกิดจากอะไรได้บ้าง ? อาจจะยีน พันธุกรรม มีความยึดติด หรือสารบางตัวในสมองเปลี่ยนไป ความเครียดเป็นแค่ตัวกระตุ้น คนที่เป็นแล้วส่วนใหญ่จะนำไปสู่โรคอ้วน ไม่ได้เอาออกเช่น ล้วงคอ หรือกินยาถ่าย