Episodes

Friday May 12, 2023
EP49 ตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันโรคพันธุกรรมสำหรับลูกน้อย
Friday May 12, 2023
Friday May 12, 2023
เราจะมาไขข้อข้องใจกับการตรวจยีนสำหรับการมีลูกว่าควรตรวจอะไรบ้าง ควรตรวจในช่วงไหนของการตั้งครรภ์
และเราจะมีการวางแผนรับมืออย่างไรโดย รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล
แพทย์เวชศาสตร์มารดาและทารก โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

Friday Mar 31, 2023
EP48 ผู้สูงวัย กับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สูตรเฉพาะ จำเป็นหรือไม่?
Friday Mar 31, 2023
Friday Mar 31, 2023
EP. นี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไมผู้สูงอายุต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้ววัคซีนไข้หวัดใหญ่สูตรเฉพาะ หรือที่เรียกว่า High Dose มันดีกว่าแบบปกติอย่างไร กับคุณหมอท๊อป พญ.ทิปภา ชุติกาญจน์โกศล อายุรแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ประจำศูนย์ชีวายั่งยืน คุณหมอกล่าวว่า แบบ High Dose มีการเพิ่มของสารประกอบของเชื้อมากกว่าวัคซีนแบบ 4 สายพันธุ์ทั่วไปถึง 4 เท่า มีประโยชน์คือกระตุ้นให้การสร้างภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นนั่นเอง ถ้าผู้สูงอายุติดไข้หวัดใหญ่จะส่งผลต่อปอด ระบบหายใจและเส้นเลือดได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดสมองตีบ 8 เท่าและลิ่มเลือดหัวใจตีบ 10 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ High Dose จะช่วยลดอัตราการนอน รพ. ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการนอนติดเตียง

Wednesday Mar 15, 2023
EP47 สูงวัย กับ โรคภัยซ่อนเร้น
Wednesday Mar 15, 2023
Wednesday Mar 15, 2023
EP นี้ คุณหมอ ท้อป พญ.ทิปภา ชุติกาญจน์โกศล อายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ประจำศูนย์ชีวายั่งยืน
จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยซ่อนเร้น ของผู้สูงอายุที่ต้องระวัง มีสัญญานเตือนอะไรบ้างที่ควรรู้ เราจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของท่านได้อย่างไร โรคภัยใดที่ควรต้องระวังเป็นพิเศษ เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้นของคนในครอบครัวที่เรารัก
#เราไม่อยากให้ใครป่วย

Thursday Feb 16, 2023
EP46 หมดกังวล ลมชักรักษาได้
Thursday Feb 16, 2023
Thursday Feb 16, 2023
EP นี้ คุณหมอ มิกกี้ พญ.วิรัลพัชร อัครชลานนท์ กุมารแพทย์โรคสมองและระบบประสาท รพ.เด็กสมิติเวช จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคลมชัก โรคลมชักคืออะไร? การชักมีกี่ประเภท และโรคลมชักสามารถรักษาให้หายขาดได้จริงหรือ?
แล้วถ้าเกิดลูกหลานของเราเป็นโรคลมชัก เราจะต้องทำอย่างไรในสถานการณ์นั้น มีวิธีการสังเกตหรือป้องกันอย่างไร มาติดตามกันใน EP นี้
#เราไม่อยากให้ใครป่วย

Wednesday Jan 11, 2023
EP45 Sixpack สร้างได้?
Wednesday Jan 11, 2023
Wednesday Jan 11, 2023
ใครอยากมี Six Pack แต่ไม่มาสักที ทั้ง sit up ควบคุมอาหาร กินโปรตีนเยอะก็แล้ว …. มาฟังกันเลย วันนี้มีทางลัดมาบอก …. เราสามารถสร้าง Six Pack ได้ด้วยมือแพทย์ ด้วยเทคนิคการผ่าตัดดูดไขมันนั่นเอง ได้ทั้งหญิงและชายเลย คุณหมอจะมีการพูดคุยในสิ่งที่เราอยากจะได้ตรงตามความต้องการ แนะนำการเตรียมตัวต่างๆ อาทิ ควรมีน้ำหนักคงที่อย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี แล้วมาตรวจร่างกาย ตรวจสภาพผิว ยิ่งผิวกระชับ ยิ่งทำให้ดูดี สวย ทำเสร็จมาพักฟื้นเพียง 2 อาทิตย์เท่านั้น และความรู้อีกเพี๊ยบ คลิกฟังได้เลยค่ะ

Wednesday Dec 14, 2022
EP44 คอลลาเจน- รู้ก่อนกิน
Wednesday Dec 14, 2022
Wednesday Dec 14, 2022
ขาว เด้ง ไม่ปวดข้อ.... อะไรคือข้อเท็จจริงจากการกินคอลลาเจนเสริม EP นี้
พญ.ม.ล.ธัญญ์ภัส เทวกุล แพทย์วุฒิบัตร Anti-Aging Medicine (สหรัฐอเมริกา) ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คอนเฟิร์มว่าคอลลาเจนดีกับผิวจริงในแง่เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นให้กับผิว แต่ไม่ได้ช่วยให้ผิวขาวดังเช่นที่เห็นในโฆษณาในหลายสื่อ คอลลาเจนในร่างกายมีอยู่หลายชนิด คอลลาเจน Type I พบได้ทั้งในผิวและกระดูก ส่วน Type II พบในกระดูกอ่อนและข้อต่อ ดังนั้นจะเลือกซื้อเลือกรับประทานคอลลาเจนชนิดไหนต้องเลือกให้ถูกกับการบำรุงที่คุณต้องการ คอลลาเจนที่ถูกดัดแปลงให้มีขนาดเล็กลงด้วยการไฮโดรไลซ์ ได้เป็นคอลลาเจนไดหรือไตรเปปไทด์จะมีขนาดเล็กและถูกดูดซึมได้ดี ขนาดรับประทานคือ 2,500 – 10,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีให้เลือกหลายรูปแบบ ส่วนคอลลาเจนที่มีงานวิจัยว่าให้ประโยชน์ต่อข้อ คือ undenatured type II collagen (UC-II) ซึ่งมีขนาดรับประทานน้อยกว่าคอลลาเจนโดยทั่วไป และมีประสิทธิภาพดี ผู้ที่ไม่ควรรับประทานคอลลาเจนคือ ผู้ที่เป็นโรคตับ โรคไต กรดไหลย้อน ผู้ที่แพ้อาหารบางชนิด เช่น ปลา ไก่ อาหารทะเล ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของคอลลาเจน ดังนั้นก่อนซื้อจึงควรอ่านฉลากเพื่อตรวจดูส่วนผสมให้แน่ใจก่อนว่าปราศจากสิ่งที่คุณแพ้ และประกอบด้วยส่วนผสมตามที่คุณต้องการ...

Wednesday Nov 23, 2022
EP 43 อยากจะนอนแต่นอนไม่หลับ
Wednesday Nov 23, 2022
Wednesday Nov 23, 2022
ใครมีปัญหานอนไม่หลับแล้วไปชงอะไรอุ่นๆ ดื่ม โดยหวังว่าจะช่วยกล่อมให้นอนหลับได้ดีขึ้นต้องเปลี่ยนวิธี! เพราะ นพ.ดร. วิทูร จุลรัตนาภรณ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ แห่งโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เฉลยให้ฟังว่าจะนอนได้ดีอุณหภูมิร่างกายต้องไม่สูงเกินไป อุณหภูมิในห้องเย็นพอเหมาะ ระหว่างวันควรอยู่ในที่สว่าง ส่วนก่อนนอนควรอยู่ในที่มืดเพื่อให้ร่างกายหลั่งเมลานินตามธรรมชาติและเตรียมเข้าสู่โหมดพักผ่อน ง่วงนอน และนอนหลับได้ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนใกล้เวลานอน หรือออกกำลังกายภายใน 4 ชั่วโมงก่อนนอนเพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ วางมือถือ พักการคิดเรื่องงาน หันมาทำสมาธิและยืดเหยียดร่างกายเบาๆ จะช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น ปัญหาการนอนไม่หลับพบได้ในคนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อใดที่การนอนไม่หลับเริ่มสร้างปัญหาระหว่างวัน ทำให้หงุดหงิดง่าย การตัดสินใจแย่ลง มีปัญหาในการเรียนรู้ หรือมีอาการนอนไม่หลับเกินหนึ่งสัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาต้นเหตุของปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ก่อนจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อสุขภาพ

Wednesday Nov 09, 2022
EP42 ย้อนวัยให้น้องสาว
Wednesday Nov 09, 2022
Wednesday Nov 09, 2022
น้องสาวของเราแต่ละคนมีรูปร่างและผิวพรรณที่แตกต่างกัน ไม่ต่างจากหน้าตาที่เห็นภายนอก เพียงแต่น้องสาวถือเป็นบริเวณลับเฉพาะที่เซนซิทีฟเป็นพิเศษ ไม่ว่าคุณจะอยากให้น้องสาวคิวท์ขึ้นอีกนิดโดยไม่ได้มีปัญหาทางกายภาพ หรือน้องมีรูปร่างที่ทำให้นั่งก็เจ็บ ใส่เสื้อผ้าก็เสียดสี ปัสสาวะเล็ด หรือไม่เอื้อต่อกิจกรรมบนเตียง บอกเลยว่าคุณหมอช่วยได้ ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์และการผ่าตัดที่มอบความคิวท์ให้น้อง ตกแต่งแก้ปัญหา และย้อนวัยให้น้องสาวได้ไม่ว่าจะภายในหรือภายนอก คุณหมอมีเทคนิคอย่างไร ขั้นตอนการทำจะเจ็บไหม แก้ไขอะไรได้บ้าง ไปฟังกันเลย

Wednesday Oct 26, 2022
EP41 ประจำเดือนแบบไหน “ผิดปกติ” เช็กให้ชัวร์
Wednesday Oct 26, 2022
Wednesday Oct 26, 2022
ประจำเดือนเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับผู้หญิงทุกคนตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยสาว สาวน้อยแรกมีประจำเดือนใน 1-2 ปีแรกอาจจะยังมีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ แต่เมื่อการตกไข่เป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว ประจำเดือนที่มีลักษณะปกติคือ มีประจำเดือนครั้งละไม่เกิน 7 วัน อาจมีอาการปวดท้องประจำเดือนในวันแรก รอบเดือนสม่ำเสมอ รอบละ 28-35 วัน สีของประจำเดือนในวันแรกและก่อนหมดในแต่ละรอบอาจมีสีคล้ำออกน้ำตาล ขณะที่ระหว่างที่มีประจำเดือนส่วนใหญ่จะมีสีแดงสด เนื่องจากประจำเดือนคือเยื่อบุโพรงมดลูกที่มีเส้นเลือดฝอย เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนจึงมีสีแดงเหมือนเลือดนั่นเอง ความเครียด ความกังวล การออกกำลังกาย การอดนอน มีผลต่อการตกไข่และรอบเดือนได้ หากเมื่อไรที่รอบเดือนของคุณผิดปกติไป ไม่ว่าจะเป็นจำนวนประจำเดือน ความถี่-ห่างของรอบเดือน อาการปวดท้องที่มากับรอบเดือนรุนแรงมากขึ้น ควรพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา เพราะรอบเดือนที่ผิดปกติเกิดจากโรคได้หลายโรค เช่น รังไข่ทำงานผิดปกติ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เนื้องอก และช็อคโกแลตซิสต์เป็นต้น

Wednesday Oct 12, 2022
EP40 ผมร่วงหลังโควิด
Wednesday Oct 12, 2022
Wednesday Oct 12, 2022
EP นี้คุณหมอแม็กซ์ นพ. วิรัช ตวงจารุวินัย แพทย์ผิวหนัง รพ. สมิติเวช สุขุมวิท มายืนยันชัดๆ ว่าเป็นโควิดทำให้ผมร่วงได้จริง แต่โควิดไม่ใช่โรคเดียวที่มีผลทำให้ผมร่วง เพราะโรคและสภาวะอื่นๆ ที่กระทบต่อสุขภาพร่างกายและใจ เช่น ไทรอยด์ ไข้เลือดออก หลังคลอด เจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล ผ่าตัด หรือแม้กระทั่งความเครียดก็มีผลทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ภาวะผมร่วงเป็นไม้ผลัดใบนี้เรียกว่า Telogen effluvium เกิดจากเส้นผมพากันเข้าสู่ระยะ Telogen ซึ่งเป็นระยะพร้อมร่วงมากกว่าปกติ แต่ใครกำลังเป็นอยู่ไม่ต้องกังวล เพราะหากไม่มีความเจ็บป่วยมาซ้ำอีก ผมสามารถงอกขึ้นใหม่ได้โดยใช้เวลาประมาณ 3 เดือน และที่สำคัญหลังจากเจ็บป่วยแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพให้ดี รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ นอนให้ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่ผมร่วงมากและไม่แน่ใจว่าใช่เกิดจากโควิดหรือไม่ แพทย์จะช่วยหาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษา ซึ่งก็มีทั้งใช้การใช้ยาทาภายนอก ยารับประทาน ใช้เลเซอร์ และฉายแสง LED สุดท้ายคุณหมอฝากไว้ว่าหากผมร่วงหลังจากป่วย ห้ามเครียด ค่อยๆ ฟื้นฟูร่างกาย และใจเย็นๆ เพราะผมบ้ายบายไปแป๊ปเดียว เดี๋ยว (3 เดือน) ก็กลับมา
#ผมร่วง #ผมร่วงจากโควิด